เมื่อวัฒนธรรมK-pop "เกาหลี" แรงไม่เลิก ไม่ใช่แฟชั่นมาไวไปไว!!

เมื่อวัฒนธรรมK-pop "เกาหลี" แรงไม่เลิก ไม่ใช่แฟชั่นมาไวไปไว!!
กระแส เกาหลี หรือ Korean Wave ไม่เพียงเข้ามามีอิทธิพลในบ้านเรา แต่การประสบความสำเร็จในการใช้สินค้าทางวัฒนธรรม ยังแทรกซึมเข้าไปทุกส่วนของผู้บริโภคมากขึ้น

เริ่มตั้งแต่ซีรี ส์เกาหลี แม้เข้ามาเป็นช่วงต้นของความนิยม ก็ยังคงแรงอย่างต่อเนื่อง กระทั่งสะท้อนออกมาในรูปแบบของการขายวีซีดีถูกลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นกว่า การโหลดบิดมาขายเหมือนก่อนหน้า และยังนำไปสู่การมองเห็นโอกาสของผู้ผลิตรายการในบ้านเราจนมีการสร้างช่อง ผ่านทางทีวีดาวเทียมขึ้นนำมาเสนอซีรีส์เกาหลี เพลง ไม่นับรวมซีรีส์ละคร การ์ตูนเกาหลี ที่ฟรีทีวีก็ทิ้งกระแสนี้ไม่ได้

สาเหตุที่คลื่นเกาหลี ไม่เงียบหายไปเหมือนแฟชั่นที่มาแล้วไป อาจเพราะการตอบรับของผู้บริโภคที่ยังให้ความสนใจกับวัฒนธรรมแดนกิมจิแบบไม่ เสื่อมคลาย และยิ่งคลั่งไคล้มากขึ้นทุกวัน


สอดคล้องกับสิ่งที่ "เดียว วรตั้งตระกูล" กรรมการผู้จัดการจีเอ็มเอ็ม บรอดคาสติ้ง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่เปิดเผยตัวเลขเรตติ้งของช่อง JKN ซึ่งเปิดฉายในช่องทีวีดาวเทียมมาตั้งแต่ปี 2554 โดยอ้างผลจากเอจีบี เนลสัน พบว่าช่องนี้มีฐานผู้ชมเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย หรือราว 6 ล้านคน ภายในระยะเวลา 3 เดือน

รวมถึงการที่ค่ายใหญ่อย่างแกรมมี่และทรูหัน มาทำช่องรายการช็อปปิ้งในลักษณะร่วมทุนกับเกาหลีอย่างจริงจัง จนทำให้เห็นว่ากระแสนี้ไม่น่าจะเป็นแฟชั่นที่มาไวไปไวซะแล้ว

และไม่ เพียงความมากมายในด้านบันเทิงที่สะท้อนให้เห็นถึงความแรงไม่ตก ทั้งช่องรายการเกาหลีโดยเฉพาะ เรตติ้งคนดูที่เพิ่มขึ้นสูง ความนิยมในคอนเสิร์ตที่จัดกระตุ้นควบคู่ ฯลฯ

ในด้านของธุรกิจอื่น ๆ อิทธิพลของวัฒนธรรมกิมจิยังแทรกซึมชนิดลงรากลึกกว่าเดิม ทั้งกลุ่มธุรกิจเครื่องสำอางที่ยังคงดาหน้าเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ล่าสุดคือโคเรียน ดีดี ของบริษัท เดียร์- ดี เทรดดิ้ง ที่สร้างโมเดลร้านมัลติแบรนด์ ขนสกินแคร์ เมกอัพ กว่า 300 แบรนด์ ราคาจับต้องได้ 65-3,500 บาท เข้ามาทำตลาดในรูปแบบของการขายแฟรนไชส์ ตั้งเป้าขยาย 150 แห่ง ภายในปี 2555 ส่วนรายเก่าที่มีอยู่อย่างโกรอัพ ที่ขายมัลติแบรนด์เหมือนกันก็ขยายสาขาเข้าไปในส่วนเคาน์เตอร์ของห้างมากขึ้น หรือ ดร.จาร์ท หันรุกต่างจังหวัด

การรุกหนักของรายเก่าเช่นนั้น หมายความว่าความสวยงามในแบบสาวเกาหลีกลายเป็นไอดอลของสาวไทยจะกระจายไปทั่ว ประเทศ ขณะที่รายใหม่กำลังบินข้ามฟ้าเข้ามาเปิดเป็นว่าเล่น ทั้งในรูปแบบเคาน์เตอร์แบรนด์ สแตนด์อะโลน และการเข้าไปวางจำหน่ายในวัตสัน หรือบู๊ทส์ เพื่อเป็นการชิมลางความนิยมก่อนเข้าห้าง

ดังที่ "เรชุนาถ ไชยลังกา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เดียร์-ดี เคยกล่าวว่า ตลาดความงามเกาหลียังมีช่องว่างอยู่มาก มีมูลค่าตลาดราว 4 พันล้านบาท อีกทั้งยังมีอัตราเติบโตปีละ 15-20% ซึ่งคือ "โอกาส" ที่หอมหวนชวนให้หลายคนยังอยากโดดเข้าร่วม แม้ว่ากระแสนี้จะเข้ามาบ้านเราหลายปีแล้วก็ตาม

ด้านแหล่งข่าวในวง การเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์รายหนึ่งยอมรับว่า ในปี 2555 ยังจะมีเครื่องสำอางจากเกาหลีเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง

ส่วน บรรดาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีเป้าหมายจับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 10 กว่าปีไปจนถึงวัยเริ่มต้นทำงาน ก็หันมาอิงกระแสแบบต่อเนื่องและยาวนาน โดยเลือกกลยุทธ์เข้าถึงใจกลุ่มเป้าหมายที่คลั่งไคล้คอเค ด้วยการเลือกพรีเซ็นเตอร์เป็นศิลปินดัง ๆ ที่แฟนคลับในไทยกรี๊ด ไม่ว่าจะเป็นแป้งทเวลฟ์ พลัส ของค่ายโอสถสภา ก็ใช้สองหนุ่มจากซูเปอร์ จูเนียร์ ซีวอนและคีบอม, เถ้าแก่น้อย ที่จัดหนัก ใช้พรีเซ็นเตอร์ 6 หนุ่มหล่อ วง Beast กิจกรรมมีตแอนด์กรีต และคอนเสิร์ตรวมศิลปินเกาหลีกว่า 19 วง, แป้งบีบี วันเดอร์คอมแพค ของมิสทีน ก็ใช้พรีเซ็นเตอร์เกิร์ลกรุ๊ป วงคาร่า หรือแม้แต่คลินิกความงามอย่างวุฒิ-ศักดิ์ ก็ยอมควักกระเป๋าให้พรีเซ็นเตอร์แดนกิมจิ

ไม่นับผลของอิทธิพลที่ทำ ให้คนไทยบินไปใช้เงินวอนที่ "เกาหลี" กันปีละหลายแสนคน ทั้งไปเพื่อท่องเที่ยวตามรอยซีรีส์ดัง ๆ หรือศัลยกรรมความงาม ซึ่งดูดเงินสาวหนุ่มที่อยากหน้าใสเด้งเหมือนซุป"ตาร์เกาหลีไปเพียบ

อีก ทั้งกระแสยังทำให้ความนิยมในรถยนต์เกาหลีกลับมาโดดเด้งขึ้นกว่าเดิมมาก รวมถึงความนิยมในด้านอาหารแดนกิมจิ ที่มีแต่เพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดเชนร้านอาหารแนวเกาหลีอย่างมากมาย ทั้งแบบดั้งเดิมและฟิวชั่น

คาด กันว่า ณ ห้วงเวลานี้ คลื่นอิทธิพลสินค้าทางวัฒนธรรมจากเกาหลียังคงเดินหน้าไหลบ่าเข้ามาสู่ ไทยอย่างต่อเนื่อง แม้ระยะหลังอาจแรงไม่เท่าช่วงแรก แต่กระแสนี้ก็จัดอยู่ในข่าย "แรงดีไม่มีตก" เนื่องจากกลุ่มก้อนแฟนคลับคอเคมีความเหนียวแน่น แถมยังขยายความนิยมจำนวนจากในเมืองไปสู่ต่างจังหวัด

โอกาสจากกระแสเคพ็อปจึงสำคัญ และน่าจะทำให้เกิดกิจกรรมการตลาดผุดขึ้นมาอีกมากทีเดียว
ที่มา คอลัมน์ จับกระแสตลาด นสพ.ประชาชาติธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น: